นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัท

นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน) อิงตามหลักการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) หรือบรรษัทภิบาล สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ “ตลาดหลักทรัพย์ฯ” ซึ่งเป็นการนำข้อพึงปฏิบัติจากหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อที่ “ตลาดหลักทรัพย์ฯ” ได้ประกาศใช้ในเดือนมีนาคม 2545 มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทออกเป็นหัวข้อดังนี้

          บริษัทกำหนดให้เลขานุการของบริษัททำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ถือหุ้น ในการดูแลคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันเช่นสิทธิในการซื้อขายหลักทรัพย์ สิทธิในการรับเงินปันผลสิทธิในการประชุมผู้ถือหุ้น การออกเสียงเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยให้มีส่วนร่วมในการพิจารณาประเด็นที่สำคัญและเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ถือหุ้นในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สะดวกเข้าร่วมประชุม โดยหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท แจ้งให้ทราบถึง วัน เวลา และสถานที่ประชุม วาระประกอบการประชุม และข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่เสนอ พร้อมทั้งรายละเอียดข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม เป็นต้น และจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม และให้โฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ติดต่อกัน 3 วันก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งนี้คำบอกกล่าวที่ส่งให้ผู้ถือหุ้นในประเทศไทยนั้นให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ส่วนคำบอกกล่าวที่ส่งให้ผู้ถือหุ้นต่างประเทศให้ส่งทางโทรสาร หรืออีเมล และให้มีการยืนยันโดยทางไปรษณีย์อากาศลงทะเบียน

        บริษัทกำหนดนโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานบริษัททุกระดับ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน เจ้าหน้าที่ คู่แข่ง ชุมชน และสังคม ดังนี้

– ผู้ถือหุ้น บริษัทมุ่งมั่นจะเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้นในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทในระยะยาว และผลตอบแทนที่ดี

– ลูกค้า บริษัทเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้าโดยให้บริการที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และรวดเร็วตรงต่อเวลา รวมทั้งรักษาความลับของลูกค้า

– คู่ค้า บริษัทจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อเอื้อประโยชน์ร่วมกัน และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อกันอย่างเคร่งครัด

– พนักงาน บริษัทให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติอย่างเสมอภาคเป็นธรรม รวมถึงการให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม

– เจ้าหนี้ บริษัทรักษาและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้โดยเคร่งครัด

– คู่แข่ง บริษัทยึดถือปฏิบัติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี

– ชุมชนและสังคม บริษัทตระหนักและห่วงใยในความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตและสังคมที่ดี และดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงทางเลือกที่มีผลกระทบสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนที่น้อยที่สุด

          คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่เปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญของ บริษัท อย่างครบถ้วน เชื่อถือได้ และทันเวลา โดยผ่านสื่อต่างๆ เช่น ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ข่าวประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งสารสนเทศที่เปิดเผยนั้นมีทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่ไม่ใช่ทางการเงิน สารสนเทศดังกล่าวบริษัทต้องจัดทำขึ้นอย่างรอบคอบ ชัดเจน กะทัดรัด และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บริษัทมอบหมายให้ นางสาวปิยะนันท์ สุวรรณนภาศรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทำหน้าที่ “นักลงทุนสัมพันธ์” เพื่อเผยแพร่ข้อมูล โดยยึดหลักความโปร่งใส ชัดเจน ถูกต้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชนให้ทราบอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงการตอบข้อซักถามต่างๆ แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทั้งนี้ “นักลงทุนสัมพันธ์” ยังมีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับที่ออกมาอย่างเคร่งครัด และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

          ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการพบปะนักลงทุน นักวิเคราะห์ ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดขึ้น เพื่อตอบข้อซักถาม และเผยแพร่ข้อมูลผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ

          อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ จะคำนึงถึงหลักการตามกฎหมาย ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและหลักการกำกับดูแลกิจการ โดยดำเนินการอย่างซื่อสัตย์ สุจริต มีจริยธรรม รับผิดชอบ และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส รวมทั้งกำกับดูแลให้การบริหารจัดการของฝ่ายจัดการเป็นไปตามเป้าหมาย และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น รวมทั้งประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ทั้งนี้ โครงสร้างบริหารจัดการของบริษัทได้มีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ระหว่างประธานกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการออกกันอย่างชัดเจน และมีการจัดให้มีคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อตรวจสอบและกำกับการดำเนินงานของบริษัท และพิจารณาข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้ อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอที่จะดำรงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และเพื่อให้ทราบจุดอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตหรือการดำเนินการที่ผิดปกติอย่างมีสาระสำคัญ โดยคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางด้านบัญชี ทั้งนี้ เพื่อช่วยตรวจสอบและสอบทานให้งบการเงินของบริษัทเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน

          นอกจากนี้ โครงสร้างของคณะกรรมการจะต้องประกอบไปด้วย กรรมการอิสระ ทั้งนี้ อย่างน้อยตามจำนวนที่กฎหมาย และ/หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกำหนด และมีการถ่วงดุลอำนาจกัน และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 บริษัทมีคณะกรรมการทั้งสิ้นจำนวน 10 คน โดยมีรายละเอียดเป็นดังนี้

          ดังนั้น บริษัทมีกรรมการที่เป็นอิสระทั้งหมด 5 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 50 ของกรรมการทั้งหมด กรรมการจำนวน 4 ท่านเป็นกรรมการที่มาจากตระกูลสุวรรณนภาศรี อย่างไรก็ตาม มีกรรมการที่เป็นคนนอกมาถ่วงดุลรวมทั้งสิ้น 6 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 60 ของกรรมการทั้งหมด บริษัทมีการแบ่งอำนาจในการอนุมัติวงเงินต่างๆ เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน

        คณะกรรมการบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเล็งเห็นว่าการทุจริตคอร์รัปชันนั้น เป็นภัยร้ายแรงที่บั่นทอนทำลายองค์กร และประเทศชาติโดยรวม ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีมติอนุมัติให้ บริษัทฯ เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption: CAC)

        โดยคุณพละ สุขเวช ประธานกรรมการบริษัทฯ ได้ลงนามคำประกาศเจตนารมณ์เป็นแนวร่วมปฏิบัติ (Collective Action Coalition) ของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 และเมื่อเดือนพฤษภาคม 2562 ทางคณะกรรมการแนวร่วมปฏิบัติฯ ได้มีมติรับรองบริษัทเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติฯ โดยมีระยะเวลา 3 ปี

        ดังนั้น จากแนวทางของบริษัทฯ ที่ชัดเจนที่จะร่วมมือและสนับสนุนกับภาครัฐและภาคเอกชน บริษัทฯ จึงได้กำหนดนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน โดยใช้แนวทางของ “โครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต” เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตามนโยบาย ดังนี้

– ห้ามมิให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ให้หรือเสนอที่จะให้ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลภายนอก เพื่อจูงใจให้บุคคลนั้นกระทำหรือละเว้นการกระทำใดที่ผิดต่อกฎหมายหรือโดยมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน

– จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันมิให้พนักงานทุจริต หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตและคอร์รัปชันต่างๆ

– สร้างจิตสำนึกค่านิยมทัศนคติให้แก่พนักงานในการปฏิบัติตามกฎระเบียบด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

       

นโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี

จรรยาบรรณธุรกิจ

โครงสร้างธุรกิจ

นโยบายมนุษยชน

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

นโยบายต่อต้านคอรัปชั่น

นโยบายบริหารความเสี่ยง

ข้อบังคับของบริษัทยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน)